การวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
จากวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ “มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก” ผนวกกับปณิธานและปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็น “ศูนย์รวมทางความคิด เป็นสติปัญญาของสังคม ยึดมั่นในความเป็นเลิศทางวิชาการ เป็นกลไกในการพัฒนาให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการทุกสาขา” จึงได้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบภารกิจด้านการวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยีขึ้นมาเป็นการเฉพาะ หลายหน่วยงาน อาทิเช่น สำนักบริหารการวิจัย สำนักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์วิจัยเฉพาะทาง จำนวน 25 ศูนย์วิจัย กลุ่มวิจัย จำนวน 20 กลุ่ม และเพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยให้แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดให้มีการจัดตั้งกองทุนวิจัย 40 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมีกองทุนอื่นๆอีกหลายกองทุน
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดตั้งหน่วยงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชนอีกหลายหน่วยงาน ปัจจุบันมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีความร่วมมือกับองค์กรระดับชาติและนานาชาติกว่า 160 หน่วยงาน จาก 25 ประเทศทั่วโลก โดยได้แลกเปลี่ยนนักศึกษา บุคลากร เครื่องมือ ห้องทดลอง และองค์ความรู้ต่างๆ
ความโดดเด่นด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีความโดดเด่นด้านการวิจัยดังนี้
- การแพทย์ การสาธารณสุข และสุขภาพเขตร้อน
- การเกษตรและระบบฟาร์มเขตร้อน (สัตวศาสตร์ พืชศาสตร์)
- ความหลากหลายทางชีวภาพลุ่มน้ำโขง
- ศิลปะ วัฒนธรรม และสังคมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
- ธุรกิจ เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
ทิศทางการขับเคลื่อนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้กำหนดทิศทางการวิจัย ประเด็นการวิจัยที่ชัดเจนทั้งประเด็นการวิจัยพื้นฐานเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ และการวิจัยประยุกต์ที่เป็นความสำคัญของพื้นที่และความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย การพัฒนานักวิจัยอย่างเป็นระบบตั้งแต่นักวิจัยใหม่ นักวิจัยรุ่นกลาง นักวิจัยอาวุโส การพัฒนาระบบกลไกสนับสนุน เครื่องมือวิจัยราคาแพง ศูนย์สัตว์ทดลอง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สำนักงานบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา การสนับสนุนการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย
นอกจากนี้ ได้จัดให้มีหน่วยงานสนับสนุนด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี เช่น สถาบันยุทธศาสตร์ สำนักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์บริการวิชาการ สำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์
ศูนย์ประสานงานเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จากการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ด้านการวิจัย และการทุ่มเทในการทำงานของนักวิจัย เป็นระยะเวลา กว่า 4 ทศวรรษ ส่งให้ผลงานการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ปรากฏชัดเจน ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยลงานวิจัยหลายเรื่องได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้ การใช้ประโยชน์ด้านวิชาการ การใช้ประโยชน์ด้านทรัพย์สินทางปัญญา และการใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาชุมชน โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ การพัฒนาในระดับชนบท การพัฒนาในระดับจังหวัด หรือภูมิภาค และ การพัฒนาอุตสาหกรรม
การพัฒนาประเทศ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัย องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ในฐานะที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับการประกาศแต่งตั้งให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ เมื่อปีพุทธศักราช 2553 การดำเนินภารกิจด้านการวิจัยจึงถือเป็นอีกหนึ่งภารกิจหลักที่สำคัญของมหาวิทยาลัยขอนแก่น สร้างนักวิจัยที่มีคุณธรรม และผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ลบภาพงานวิจัยบนหิ้ง และที่สำคัญ ประโยชน์จากการศึกษาค้นคว้าวิจัย ในแต่ละเรื่องนั้น ต้องสามารถตอบโจทย์ของสังคมได้อย่างแท้จริง
มหาวิทยาลัยขอนแก่นกำหนดทิศทางการวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยสร้างความโดดเด่นด้านการวิจัยที่เป็นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นให้เป็นศูนย์กลางการวิจัยของโลกในประเด็นดังต่อไปนี้
- การแพทย์ การสาธารณสุข และสุขภาพเขตร้อน
- อาหารและอาหารเพื่อสุขภาพ
- การบริหารจัดการลุ่มน้ำแบบองค์รวม
- คณิตศาสตร์ศึกษาและวิทยาศาสตร์ศึกษา
- น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ
- ความหลากหลายทางชีวภาพลุ่มน้ำโขง
- ศิลปะ วัฒนธรรม และสังคมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
- สมุนไพรไทยและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
- ธุรกิจ เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
- คลัสเตอร์วิจัยปัญหาสุขภาพจำเพาะในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
- คลัสเตอร์วิจัยสินค้าอาหารและอาหารสุขภาพของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- คลัสเตอร์การบริหารจัดการลุ่มน้ำแบบครบวงจร
- คลัสเตอร์วิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- คลัสเตอร์วิจัยน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ
- คลัสเตอร์วัสดุหน้าที่พิเศษขั้นสูง
หน่วยงานด้านการวิจัย
ศูนย์วิจัยเฉพาะทาง จำนวน 31 ศูนย์วิจัยเฉพาะทาง
ศูนย์วิจัยเฉพาะทางกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science & Tech)
1. ศูนย์วิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทน
2. ศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยีบูรณาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3. ศูนย์วิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน
4. ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรอาหารสัตว์เขตร้อน
5. ศูนย์วิจัยอนุกรมวิธานประยุกต์
6. ศูนย์วิจัยด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย
7. ศูนย์วิจัยเครื่องจักรกลเกษตรและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
8. ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
10. ศูนย์วิจัยการหมักเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
11. ศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงสร้างมูลฐานอย่างยั่งยืน
12. ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรเพื่อเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
13. ศูนย์วิจัยเเละพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ
14. ศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (ไก่พื้นเมือง)
15. ศูนย์วิจัยโปรตีนและโปรติโอมิกส์เพื่อการพาณิชย์และอุตสาหกรรม
16. ศูนย์วิจัยเคมีวัสดุ
17. ศูนย์วิจัยอ้อยและน้ำตาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ศูนย์วิจัยเฉพาะทางกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Science)
1. ศูนย์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนวัยแรงงาน
2. ศูนย์วิจัยพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี
3. ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสมุนไพร
4. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
6. ศูนย์วิจัยและบริการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อระบาดใหม่
7. ศูนย์วิจัยผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯภายใต้โครงการตะวันฉาย
8. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านเพศสภาวะและสุขภาพสตรี
9. ศูนย์วิจัยพัฒนาการแพทย์ทางเลือกแบบบูรณาการ
10. ศูนย์วิจัยปวดหลัง ปวดคอ ปวดข้ออื่นๆ และสมรรถนะของมนุษย์
ศูนย์วิจัยเฉพาะทางกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Human & Social)
2. ศูนย์วิจัยท่องเที่ยวภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
3. ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มแม่น้ำโขง
4. ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน
กลุ่มวิจัยเฉพาะทาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 40 กลุ่มวิจัย
รายชื่อกลุ่มวิจัย | คณะ | Link |
---|---|---|
1. กลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไหมป่าและแมลงสำคัญทางเศรษฐกิจ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม | คณะเกษตรศาสตร์ | - |
2. กลุ่มวิจัยการปรับปรุงถั่วลิสงและแก่นตะวันเพื่อคุณภาพเชิงอาหารสุขภาพ | คณะเกษตรศาสตร์ | - |
3. กลุ่มวิจัยดินปัญหาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | คณะเกษตรศาสตร์ | - |
4. กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอเซนซิ่งเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน | คณะเกษตรศาสตร์ | - |
5. กลุ่มวิจัยโคนมทนร้อน | คณะเกษตรศาสตร์ | - |
6. กลุ่มวิจัยการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | คณะเกษตรศาสตร์ | - |
7. กลุ่มวิจัยการผลิตโคพื้นเมืองและกระบือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพเนื้อ | คณะเกษตรศาสตร์ | - |
8. กลุ่มวิจัยเพื่อการพัฒนากระบวนการผลิตไฮโดรเจนจากวัตถุดิบมวลชีวภาพโดยจุลินทรีย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น | คณะเทคโนโลยี | https://sites.google.com/site/bioh2kku/ |
9. กลุ่มวิจัยหัวใจและหลอดเลือด | คณะเทคนิคการแพทย์ | http://cvrg.kku.ac.th/home/ |
10. กลุ่มวิจัยการพัฒนาความสามารถทางกายและคุณภาพชีวิต | คณะเทคนิคการแพทย์ | - |
11. กลุ่มวิจัยเมลาโทนิน | คณะเภสัชศาสตร์ | - |
12. กลุ่มวิจัยฤทธิ์ทางยาของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติโดยเทคโนโลยีชีวภาพทางเภสัชศาสตร์ | คณะเภสัชศาสตร์ | - |
13. กลุ่มวิจัยโรคหลอดเลือดสมอง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | คณะแพทยศาสตร์ | http://home.kku.ac.th/stroke/ |
14. กลุ่มวิจัยโรคลมชักแบบบูรณการ | คณะแพทยศาสตร์ | http://epilepsy.kku.ac.th/ |
15. กลุ่มวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา | คณะแพทยศาสตร์ | http://www.esrg.kku.ac.th/ |
16. กลุ่มวิจัยเชิงสังเคราะห์ในการดูแลรักษาสุขภาพ | คณะแพทยศาสตร์ | - |
17. กลุ่มวิจัยและพัฒนาระบบประสาทมหาวิทยาลัยขอนแก่น | คณะทันตแพทยศาสตร์ | - |
18. กลุ่มวิจัยโรคอักเสบเรื้อรังของช่องปากและโรคทางระบบที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพช่องปาก | คณะทันตแพทยศาสตร์ | - |
19. กลุ่มวิจัยไบโอฟิล์ม | คณะทันตแพทยศาสตร์ | - |
20. กลุ่มวิจัยเฉพาะทางเลเซอร์วิทยาทางทันตแพทยศาสตร์ | คณะทันตแพทยศาสตร์ | http://home.kku.ac.th/ldrg/ |
21. กลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | http://www.wesd.net/ |
22. กลุ่มวิจัยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนในการรวมตัวกลุ่มประชาคมอาเซียน | คณะวิทยาการจัดการ | - |
23. กลุ่มวิจัยข้าวทนเค็ม | คณะวิทยาศาสตร์ | - |
24. กลุ่มวิจัยเคมีจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ | คณะวิทยาศาสตร์ | - |
25. กลุ่มวิจัยระบบโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ | คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
26. กลุ่มวิจัยเฉพาะทางระบบสมองกลฝังตัว | คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
27. กลุ่มวิจัยวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ | คณะวิศวกรรมศาสตร์ | http://web.kku.ac.th/feat/vision.html |
28. กลุ่มวิจัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางปัญญา | คณะศึกษาศาสตร์ | - |
29. กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการป้องกันโรคในปศุสัตว์ | คณะสัตวแพทยศาสตร์ | - |
30. กลุ่มวิจัยการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | คณะสาธารณสุขศาสตร์ | - |
31. กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศอินโดจีน | วิทยาเขตหนองคาย | - |
32. กลุ่มวิจัยสารพิษในปศุสัตว์และสัตว์น้ำ | คณะสัตวแพทยศาสตร์ | - |
33. กลุ่มวิจัยไม้ผลสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น | คณะเกษตรศาสตร์ | - |
34. กลุ่มวิจัยวิศวกรรมประยุกต์เพื่อพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | คณะวิศวกรรมศาสตร์ | http://aene.kku.ac.th/ |
35. กลุ่มวิจัย HPV และ EBV กับการก่อมะเร็ง | คณะแพทยศาสตร์ | - |
36. กลุ่มวิจัยพันธุศาสตร์และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม | คณะวิทยาศาสตร์ | - |
37. กลุ่มวิจัยการพัฒนาโมเดลเชิงระบบสำหรับอุตสาหกรรม | คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
38. กลุ่มวิจัยมนุษยศาสตร์ดิจิตัล | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | - |
39. กลุ่มวิจัยประสิทธิภาพพลังงาน | คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
40. กลุ่มวิจัยภาวะกลืนลำบาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น | คณะแพทยศาสตร์ |
|
ศูนย์วิจัยเพื่อความเป็นเลิศ
สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในส่วนของมหาวิทยาลัยขอนแก่นเข้าร่วมเป็นเครือข่ายมีจำนวนทั้งสิ้น 5 เครือข่าย ประกอบด้วย
1. ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะวิศวกรรมศาสตร์
2. เครือข่ายโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร คณะเกษตรศาสตร์
3. เครือข่ายโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและการวิจัยทางเคมี คณะวิทยาศาสตร์
4. เครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ (CEM) คณะศึกษาศาสตร์
5. เครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย คณะวิศวกรรมศาสตร์
หน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัย
· ศูนย์สัตว์ทดลอง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
· สำนักงานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
· สำนักงานบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
· สำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- เสด็จเปิดอาคารวิทยวิภาสและวางศิลาฤกษ์อาคารศูนย์บริการการแพทย์ชั้นเลิศ
- พิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2562
- อธิการบดี มข. แสดงความยินดีกับผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปี 2562
- อาจารย์คณะเทคโนโลยี มข. ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ
- นศ.คณะบริหารฯ เข้ารอบสุดท้ายการแข่งขันโครงการ IDE Accelerator 2020
- เปิดอาคารวิทยวิภาส อาคารใหม่คณะวิทยาศาสตร์ มข.
- เสด็จเปิดอาคารวิทยวิภาสและวางศิลาฤกษ์อาคารศูนย์บริการการแพทย์ชั้นเลิศ
- มข.ต้อนรับผู้สื่อข่าวในพระราชสำนัก พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปี2562
- พิธี “สืบทอดปณิธาน อุดมการณ์มอดินแดง” ผู้สำเร็จการศึกษาประจำปี 2562
- พิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2562
คณะและหน่วยงาน

หน้าเว็บสำหรับ..


ผลงานจากทรัพย์สินทางปัญญา

