ผู้บริหาร

วิสัยทัศน์ (Vision)

       "มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำระดับโลก (World Class Research University)"

มหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำระดับโลก” หมายรวมถึง การที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับการยอมรับจากสถาบันอุดมศึกษาและองค์กรระหว่างประเทศ ตลอดจนมีผลการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยอยู่ในลำดับ ที่สูง คือ อันดับ ๑ ใน ๘๐ ของเอเซีย และ อันดับ ๑ ใน ๔๐๐ ของโลก เมื่อพิจารณาจากผลงานทางด้านการผลิตบัณฑิต คุณภาพงานวิจัย ความเป็นนานาชาติ และความมีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ จากการจัดอันดับจากองค์กรประเมินคุณภาพทั้งภายในประเทศและนานาชาติ

มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นองค์กรทางด้านการศึกษา มีหน้าที่ในการผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาประเทศ ในขณะเดียวกันก็เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคมด้วย ดังนั้น ในส่วนของวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยจึงรวมถึงการพัฒนาตนเองให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำ มหาวิทยาลัยที่มีการบริหารจัดการที่ดี มหาวิทยาลัยคุณภาพ มหาวิทยาลัยของชุมชนด้วย

มหาวิทยาลัยวิจัย หมายถึง การมีบรรยากาศที่ส่งเสริมการทำวิจัย มีคณาจารย์ที่มีความสามารถสูงในการทำวิจัย มีกระบวนการผลิตบัณฑิตที่เน้นกระบวนการคิด วิเคราะห์ และสามารถเผชิญกับปัญหา และหาแนวทางแก้ไขได้อย่างเป็นระบบ ทิศทางการวิจัยของมหาวิทยาลัยเน้นการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการวิจัยจากสภาพปัญหาจริงในพื้นที่ทั้งของชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และปัญหาของประเทศชาติ และเชื่อมโยงถึงประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพื่อผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ มีชื่อเสียง สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่เป็นที่ยอมรับ ได้รับการอ้างอิงและตีพิมพ์ในวารสารในระดับนานาชาติ       และสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านการแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ (อาทิ ปัญหาด้านความยากจน ปัญหาด้านสาธารณสุข และคุณภาพการศึกษา) การพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร

มหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ หมายถึง มหาวิทยาลัยพัฒนาตนเองให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของทั้งบุคลากรภายในและภายนอก โดยการสร้างให้มหาวิทยาลัยเป็นอุทยานการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน ทุกช่วงวัย เปิดช่องทางการเรียนรู้ของบุคคลในหลายรูปแบบโดยใช้ ICT เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ รวมทั้งการสร้างพื้นที่การเรียนรู้สำหรับประชาชนที่ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา เน้นการพัฒนา แหล่งเรียนรู้ต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย อาทิ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา อุทยานวิทยาศาสตร์ อุทยานศิลปวัฒนธรรม อุทยานการเกษตร อุทยานการกีฬา เป็นต้น

มหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ หมายถึง มหาวิทยาลัยที่ใช้ระบบประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารโดยมีเป้าหมาย คือ เป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการด้านคุณภาพที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานรับรองคุณภาพจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกประเทศ

มหาวิทยาลัยของชุมชน หมายถึง การที่มหาวิทยาลัยสามารถให้บริการและช่วยเหลือชุมชนโดยการนำความรู้ ผลงานวิจัยไปช่วยพัฒนาและแก้ปัญหาให้ชุมชน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและสามารถบูรณาการ  การแก้ปัญหาเหล่านั้นกับการเรียนการสอน รวมทั้งการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน สังคม ชี้นำสังคมทางปัญญาและพัฒนาสังคมฐานราก ด้วยความห่วงใย ความใส่ใจ และการดูแลชุมชนและสังคมให้เข้มแข็งและยั่งยืน    

มหาวิทยาลัยที่มีการบริหารจัดการที่ดี  หมายถึง  มหาวิทยาลัยที่บริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล ทั้งทางด้านนิติธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส การมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ ความคุ้มค่า มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะของบุคลากร กระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ การหารายได้เพื่อพึ่งตนเอง รวมถึงการปรับโครงสร้างและระบบงานเพื่อเข้าสู่การเป็นมหาวิทยลัยในกำกับของรัฐ และการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก โดยมีเป้าหมายหลักของการบริหาร คือ

๑.     การได้รับรองคุณภาพและการจัดอันดับในระดับชาติและระดับสากล (Accreditation & Ranking) (คุณภาพงานวิจัย (การตีพิมพ์และอ้างอิง), คุณภาพการสอน, คุณภาพของบัณฑิต ที่ได้งานทำ, และความเป็นนานาชาติ)

๒.     การได้รับการยอมรับในเรื่องของการใช้ประโยชน์จากการใช้ผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศและแก้ปัญหาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำอย่างเป็นรูปธรรม

๓.     ความมีชื่อเสียงของสถาบันในระดับชาติและระดับนานาชาติ (Employer Reputation and Academic Reputation)

๔.     การเป็นองค์กรที่บริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาล การประหยัดพลังงาน และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมให้เป็นสีเขียว

 

เสาหลักของยุทธศาสตร์ (Strategic Pillar) 

เสาหลักที่ ๑ : Green and Smart Campus
คำอธิบาย : เป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการอย่างชาญฉลาด ที่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
เสาหลักที่ ๒ : Excellence Academy
คำอธิบาย : เป็นองค์กรที่มีความเป็นเลิศทางศิลปวิทยาการ
เสาหลักที่ ๓ : Culture and Care Community
คำอธิบาย : เป็นองค์กรที่ห่วงใยและดูแลชุมชน รวมทั้งส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม
เสาหลักที่ ๔ : Creative Economy and Society
คำอธิบาย : เป็นองค์กรที่สร้างองค์ความรู้ตามพันธกิจสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเชิงสร้างสรรค์
 
ประเด็นยุทธศาสตร์ ๑๐ ประเด็น ใน ๔ เสาหลัก
เสาหลักที่ ๑ : Green and Smart Campus
๑.    ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ : พัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว
๒.    ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ : เป็นอุทยานการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสังคม
๓.    ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓ : สร้างความเป็นเลิศในการบริหารจัดการ
๔.    ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ : พัฒนาวิทยาเขตหนองคายเป็นประตูสู่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
 
เสาหลักที่ ๒ : Excellence Academy
๕.    ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๕ : เป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิต
๖.    ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๖ : เป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านการวิจัย
๗.    ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๗ : พัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่ความเป็นสากล
 
เสาหลักที่ ๓ : Culture and Care Community
๘.    ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๘ : เป็นศูนย์กลางการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
๙.    ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๙ : เป็นองค์กรที่มีความห่วงใยต่อสังคม
 
เสาหลักที่ ๔ : Creative Economy and Society
๑๐.ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑๐ : ศูนย์กลางของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของภูมิภาค
 

ดาวน์โหลดแผนยุทธศาสตร์การบริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๒
 

พันธกิจ (Mission)

สภามหาวิทยาลัยได้กำหนดพันธกิจเพื่อให้มีการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์เป็น ๕ ด้าน ประกอบด้วย
พันธกิจที่ ๑ ด้านการบริหารจัดการ
(๑) เป็นองค์กรที่มีระบบการบริหารการจัดการที่ดี
(๒) บริหารจัดการทรัพยากรของมหาวิทยาลัยให้มีการสร้างรายได้เพื่อการพึ่งพาตนเองด้านงบประมาณให้มากขึ้น และปฏิรูประบบการจัดสรรและการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นกลไกขับเคลื่อนการก้าวไปสู่เป้าหมายของมหาวิทยาลัย
(๓) ปฏิรูประบบการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อให้บุคลากรมีสมรรถนะสูงและมีความผาสุกเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยไปสู่เป้าหมาย รวมทั้งการใช้ศักยภาพของผู้เกษียณอายุราชการ
(๔) พัฒนาระบบสารสนเทศให้เชื่อมโยงกันเพื่อให้สามารถจัดการข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารทุกระดับ
(๕) พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งภูมิทัศน์ของมหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัย     สีเขียว
 
พันธกิจที่ ๒ ด้านการผลิตบัณฑิต
(๑) การพัฒนาระบบการรับเข้านักศึกษาทุกระดับเพื่อให้ได้ผู้เข้าศึกษาที่มีคุณภาพสูง และเพิ่มสัดส่วนบัณฑิตศึกษาที่เน้นวิจัยเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนไปสู่มหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำ
(๒) มีหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน สอดคล้องกับมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนเพื่อรองรับศตวรรษที่ ๒๑
(๓) พัฒนาคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ จำนวนอาจารย์ชาวต่างชาติ และจำนวนนักศึกษาชาวต่างชาติ การแลกเปลี่ยนอาจารย์ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านวิชาการ และความเป็นนานาชาติ
(๔) สร้างบัณฑิตที่จบการศึกษาให้มีอัตลักษณ์ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีพื้นฐานด้านการวิจัย และสร้างความผูกพันระหว่างสถาบันกับศิษย์เก่า
(๕) สร้างสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียนเพื่อนำไปสู่การเป็น Smart Campus
  
พันธกิจที่ ๓ ด้านการวิจัย
(๑) สร้างผลงานวิจัยระดับสาขาวิชาให้มีความโดดเด่น โดยได้รับการจัดอันดับในระดับสูงสุดจากองค์กรระดับชาติหลายสาขาวิชา และได้รับการจัดอันดับในระดับสูงจากองค์กรระดับนานาชาติมากขึ้น
(๒) เพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาและสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการเป็นสถาบันวิจัยระดับโลก รวมถึงการสร้างเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
(๓) พัฒนาระบบสนับสนุนการวิจัยเพื่อผลิตผลงานวิจัยสู่ความเป็นนานาชาติ
(๔) พัฒนาและส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์และการแก้ปัญหาทางสังคม
 
พันธกิจที่ ๔ ด้านการบริการวิชาการ
(๑) ส่งเสริมให้มีการบริการวิชาการที่เชื่อมโยงกับงานวิจัยและสาขาที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อพัฒนางานวิจัยให้เข้มแข็งและเกิดการบูรณาการกับการเรียนการสอน รวมถึงสร้างความมีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย
(๒) สร้างเครือข่ายการให้บริการวิชาการกับองค์กรภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน
(๓) พัฒนาให้เกิดศูนย์กลางการให้บริการด้านต่างๆ ของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและระดับภูมิภาคอาเซียน
(๔) ปฏิรูประบบการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัย โดยมีศูนย์กลางการประสานงานและเกิดการบูรณาการร่วมกันของคณะวิชาต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
(๕) สร้างอุทยานการเรียนรู้ด้านต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและสังคม
  
พันธกิจที่ ๕ ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
(๑) เป็นศูนย์กลางด้านการอนุรักษ์ ส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและภาษา
(๒) บูรณาการศิลปะและวัฒนธรรมเข้ากับการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ
(๓) พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ    สู่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ภูมิภาคอาเซียน และระดับนานาชาติ
 

ค่านิยม (Value) 

“ค่านิยม” ของ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ การให้ความสำคัญกับคณาจารย์ บุคลากร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และคู่ความร่วมมือ การมุ่งเน้นผลลัพธ์และการสร้างคุณค่า         การมุ่งเน้นอนาคต การเรียนรู้ขององค์กรของแต่ละบุคคล และความรับผิดชอบต่อสังคม

   
วัฒนธรรมองค์กร (Organization Cuture)

“วัฒนธรรมองค์กร” ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ 
(๑) มีความตื่นตัว กระตือรือร้นต่อการเปลี่ยนแปลง ยึดมั่นในกฎระเบียบ และระบบธรรมาภิบาล 
(๒) คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ประนีประนอม และมีการยอมรับความคิดเห็น 
(๓) มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน ศรัทธา จงรักภักดีต่อองค์กร ขยันอดทน 
ทำงานเป็นทีม และมีจิตใจของการบริการ 
(๔) เป็นชุมชนทางวิชาการที่เน้นการถ่ายทอดความรู้ และแลกเปลี่ยนความรู้ในองค์กร 
 
แผนยุทธศาสตร์การบริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2563 - 2566

 

 

 

คณะและหน่วยงาน

หน้าเว็บสำหรับ..

ปฏิทินกิจกรรม

ดูกิจกรรมทั้งหมด »

ผลงานจากทรัพย์สินทางปัญญา

ผลงานทั้งหมด »

KKU Channel
Fm.103Mhz